วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2559

แบบทดสอบ เรื่อง สมบัติของธาตุและสารประกอบ

แบบทดสอบ เรื่อง สมบัติของธาตุและสารประกอบ
1. ธาตุหมู่มีชื่อประจำหมู่ว่าอะไร
    โลหะแอคคาไลน์                   
    ขธาตุแฮโลเจน
    คแก๊สเฉื่อย                     
    งโลหะแอคคาไลน์เอิร์ท
2. ข้อใดคือสมบัติของสารประกอบออกไซด์ของโลหะ
    กเป็นสารประกอบไอออนิก จึงมีจุดเดือดจุดหลอมเหลวสูง
    ขเป็นสารประกอบโคเวเลนต์ จึงมีจุดเดือดจุดหลอมเหลวต่ำ
    ค เมื่อละลายน้ำมีสมบัติเป็นกรด ยกเว้น น้ำ
    เป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง
3. ธาตุ x y และ มีเลขอะตอม 7,12,และ 15 ตามลำดับ สมบัติเกี่ยวกับธาตุทั้งสามในข้อใดที่ถูกต้อง
    กพลังงานไออกไนเซชัน x< span=""><>
    ขขนาดของอะตอม y< span=""><>
    คอิเล็กโทรเนกาติวิตี x>z>y
    ง. ความเป็นกรดของออกไซค์ z>y>x    อ่านเพิ่มเติม

เนื้อหาที่ต้องเรียนบทที่ 3 สมบัติของธาตุและสารประกอบ

เนื้อหาที่ต้องเรียนบทที่ 3 สมบัติของธาตุและสารประกอบ

บทที่ สมบัติของธาตุและสารประกอบ

 3.1 สมบัติของสารประกอบของธาตุตามคาบ

 3.2 ปฏิกิริยาของธาตุและสารประกอบของธาตุตามหมู่
        3.2.1 ปฏิกิริยาของธาตุหมู่ IA และ IIA
        3.2.2 ปฏิกิริยาของธาตุหมู่ VIIA
 3.3 ตำแหน่งของธาตุไฮโดรเจนในตารางธาตุ
 3.4 ธาตุแทรนซิชัน
        3.4.1 สมบัติของธาตุแทรนซิชัน
        3.4.2 สารประกอบของธาตุแทรนซิชัน
        3.4.3 สารประก  อ่านเพิ่มเติม

ธาตุและสารประกอบในสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม

 ธาตุและสารประกอบในสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
      1.ธาตุอะลูมิเนียม  อะลูมิเนียม  (Al)  พบมากในเปลือกโลกประมาณ  7.5%  โดยมวล  ในรูปของสารประกอบ  เช่น  บอกไซต์  (Al2O3 •2H2O)  ไครโอไลต์  (Na3 AlF6)  โลหะอะลูมิเนียมเตรียมได้จากการหลอมเหลวแร่บอกไซต์แล้วแยกด้วยกระแสไฟฟ้าจะได้โลหะอะลูมิเนียมที่แคโทด  โลหะอะลูมิเนียมมีสีเงิน  มีความหนาแน่นต่ำ  เหนียวและแข็ง  ดัดโค้งงอได้  ทุบให้เป็นแผ่นหรือดึงเป็นเส้นได้  นำไฟฟ้าและนำความร้อนได้ดีมาก
       สารประกอบออกไซต์ของอะลูมิเนียมคือ  Al2 O3  มีจุดหลอมเหลวสูงมาก  ทนความร้อนสูง  ละลายได้ทั้งกรดและเบส  ออกไซต์ที่เกิดในธรรมชาติเรียกว่า  คอรันดัม  มีความแข็งมากและมีหลายสี  จึงนิยมใช้ทำเครื่องประดับ
        สารประกอบซัลเฟตของอะลูมิเนียมที่ตกผลึกร่วมกับโลหะแอลคาไลน์จะได้ผลึกของอะลัม  (Alum)  ชนิดหนึ่งซึ่งมีสูตรทั่วไปคือ  M 2SO4•Al2 (SO4 ) • 24H2 O  หรือ  Mal(SO 4)2•12H2 O  โดย  M  ในที่นี้คือไออนบวกของโลหะ  เช่น  Na?   หรือ K ? ส่วนสารส้มที่ใช้ตามบ้านเรือนคือสารส้มโพแทส 
มีสูตรKAl(SO4 )2•  12H2 O   มีลักษณะเป็นผลึกใส  ใช้มากในกระบวนการผลิตกระดาษและกระบวนการทำน้ำประปา
อะลูมิเนียมเป็นโลหะที่มีประโยชน์มากในทางอุตสาหกรรม  ใช้ทำอุปกรณ์ไฟฟ้า  เครื่องครัว  ของใช้ในบ้าน  ห่ออาหาร  และห่อของใช้  ทำโลหะเจือหลายชนิดที่นำไปเป็นส่วนประกอบของเครื่องบิน  เรือ  รถไฟ  และรถยนต์  อ่านเพิ่มเติม


การทำนายตำแหน่งและสมบัติของธาตุในตารางธาตุ

การทำนายตำแหน่งและสมบัติของธาตุในตารางธาตุ
     การศึกษาสมบัติของธาตุตามตารางธาตุ จะช่วยในการทำนายสมบัติของธาตุได้ ถ้ารู้ตำแหน่งของธาตุนั้นในตารางธาตุหรือถ้ารู้สมบัติบางประการของธาตุอาจพิจารณาตำแหน่งของธาตุได้ดังตัวอย่างการจัดตำแหน่งของธาตุไฮโดรเจนที่ศึกษามาแล้ว ต่อไปนักเรียนจะได้ทำการทดลองเพื่อศึกษาวิธีการประมาณตำแหน่งของธาตุในตารางธาตุและการทำนายสมบัติของธาตุเมื่อรู้ตำแหน่งของธาตุนั้น  อ่านเพิ่มเติม

ธาตุกัมมันตรังสี

ธาตุกัมมันตรังส
     คือธาตุพลังงานสูงกลุ่มหนึ่งที่สามารถแผ่รังสี แล้วกลายเป็นอะตอมของธาตุใหม่ได้ มีประวัติการค้นพบดังนี
1.รังสีเอ็กซ์ ถูกค้นพบโดย Conrad Röntgen อย่างบังเอิญเมื่อปี ค.ศ. 1896
2.ยูเรเนียม ค้นพบโดย Becquerel เมื่อปี ค.ศ. 1896 โดยเมื่อเก็บยูเรเนียมไว้กับฟิล์มถ่ายรูป ในที่มิดชิด ฟิล์มจะมีลักษณะ เหมือนถูกแสง จึงสรุปได้ว่าน่าจะมีการแผ่รังสีออกมาจากธาตุยูเรเนียม เขาจึงตั้งชื่อว่า Becquerel Radiation
3.พอโลเนียม ถูกค้นพบและตั้งชื่อโดย มารี กูรี ตามชื่อบ้านเกิด (โปแลนด์) เมื่อปี ค.ศ. 1898 หลังจากการสกัดเอายูเรเนียมออกจาก Pitchblende หมดแล้ว แต่ยังมีการแผ่รังสีอยู่ สรุปได้ว่ามีธาตุอื่นที่แผ่รังสีได้อีกแฝงอยู่ใน Pitchblende นอกจากนี้ กูรียังได้ตั้งชื่อเรียกธาตุที่แผ่รังสีได้ว่า ธาตุกัมมันตรังสี และเรียกรังสีนี้ว่า กัมมันตภาพรังสี
4.เรเดียม ถูกตั้งชื่อไว้เมื่อปี ค.ศ. 1898 หลังจากสกัดเอาพอโลเนียมออกจากพิตช์เบลนด์หมดแล้ว พบว่ายังคงมีการแผ่รังสี จึงสรุปว่ามีธาตุอื่นที่แผ่รังสีได้อีกใน Pitchblende ในที่สุดกูรีก็สามารถสกัดเรเดียมออกมาได้จริง ๆ จำนวน 0.1 กรัม ในปี ค.ศ. 1902  อ่านเพิ่มเติม

ธาตุกึ่งโลหะ

ธาตุกึ่งโลหะ
    ธาตุกึ่งโลหะ  (semimetals) หรือ ธาตุเมทัลลอยด์ ( matalliods) จะอยู่ค่อนไปทางขวาของตารางธาตุจะเป็นเส้นทึบเป็นขั้นบันไดปรากฏอยู่ ซึ่งจัดเป็นธาตุกึ่งโลหะ ซึ่งอยู่กึ่งกลางระหว่างโลหะและอโลหะ ซึ่งคุณสมบัติสำคัญที่ใช้จำแนกประเภทของธาตุเหล่านี้คือคุณสมบัติการนำไฟฟ้า ธาตุกึ่งโลหะส่วนใหญ่จะเป็นสารกึ่งตัวนำ ( semiconductors ) และส่วนใหญ่มีโครงสร้างแบบโครงผลึกร่างตาข่าย 
     ธาตุกึ่งโลหะ ได้แก่ โบรอน ( B )  ซิลิคอน(Si) เจอร์เมเนียม(Ge)   อาร์เซนิก(As)   พลวง(Sb)  เทลลูเรียม(Te)  พอโลเนียม(Po) และแอสทาทีน(At)   อ่านเพิ่มเติม
      
    

ธาตุเทรนซิชัน

ธาตุเทรนซิชัน
     ธาตุแทรนซิชันมีสมบัติคล้ายคลึงกันทั้งในแนวนอนและแนวดิ่ง  ซึ่งทุกธาตุต่างเป็นพวกโลหะ  แต่มีความแตกต่างจากโลหะหมู่  IA  และหมู่  IIA  หลายประการดังนี 
1. ธาตุแทรนซิชัน  เป็นโลหะซึ่งส่วนใหญ่มีจุดหลอมเหลว  จุดเดือด  และความหนาแน่นสูง
2. เวเลนต์อิเล็กตรอนของธาตุแทรนซิชันในคาบที่  4  เท่ากับ  2  ยกเว้นโครเมียม  กับทองแดง  ซึ่งมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ  1
3. อิเล็กตรอนในระดับพลังงานถัดเข้ามานับจากระดับพลังงานของเวเลนซ์อิเล็กตรอน  ส่วนใหญ่มีจำนวนไม่เท่ากัน  ส่วนของธาตุหมู่   IA  และหมู่  IIA  ในคาบเดียวกันมีจำนวนอิเล็กตรอนในระดับพลังงานถัดเข้ามาเท่ากับ 8
4. รัศมีอะตอมมีขนาดใกล้เคียงกันและมีแนวโน้มลดลงเมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้นตามคาบ
5. ความหนาแน่นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามคาบ
6. ธาตุแทรนซิชันมีสมบัติคล้ายคลึงกันตามคาบมากกว่าธาตุอื่นๆ  ในตารางธาตุ  อ่านเพิ่มเติม